ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Web Server และ Web Hosting ว่า คืออะไร และใช้งานได้อย่างไร บทความในหัวข้อนี้ ตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับพื้นฐานการใช้งาน Web Server และ Web Hosting ส่วนหนึ่งเพราะบทความในไทยครีเอทส่วนมากแล้ว จะเชื่อมโยงเกี่ยวกับการใช้งาน Application บน Server โดยตรงอยู่แล้ว และจุดนี้เองยังขาดการสนับสนุนและความรู้บทความเกี่ยวกับเรื่อง Serverอยู่มาก และในโอกาศนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีไม่น้อย ที่จะได้สร้างบทความที่มีประโยชน์ใว้ให้น้อง ๆ สมาชิกหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับ Web Server ได้อ่านศึกษากัน โดยบทความที่จะเขียนขึ้นในเว็บไทยครเอทต่าง ๆ อาจจะเป็นเพียงแค่พื้นฐาน Basic เกี่ยวกับWeb Server เท่านั้น ไม่เจาะลึกถึงการใช้งานในขั้นสูง เช่น พื้นฐานเกี่ยวกับ Web Server / Web Hosting การรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Web Server / Disk / Bandwidth รวมทั้งการติดตั้ง Web Server ทั้งบน Windows Server และ Linux Server และก็การใช้งานพวก Control Panel ของ Direct Admin / Cpanel และรายละเอียดอื่น ๆ ที่คิดว่าจะมีประโยชน์ในการใช้งาน
Web Server คืออะไร ?
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำการติดตั้ง Software เกี่ยวกับ Server ที่ทำหน้าที่บริการและส่งข้อมูลให้กับ Client ที่ทำการ Request ข้อมูล และ Web Server จะทำการ Response เพื่อส่งผลลัพธ์ไปยัง Client โดย Web Server ทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้น ๆ กันดีคือติดตั้ง Software ที่ชื่อว่า IIS (Internet Information Services) และ Apache โดย Service เหล่านี้จะบริการข้อมูลผ่าน Port : 80 และรับส่งข้อมูลผ่าน Web Browser ส่วนมาก
Web Hosting คืออะไร ?
เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือบริการพื้นที่ที่อยู่บน Web Server ที่ผู้ให้บริการนำ Server ของตัวเองไปตั้งเป็น Web Server และให้บริการด้านการเช่าใช้งาน ผู้ใช้สามารถขอทำการเช่าพื้นที่เหล่านั้นมาใช้งาน โดยที่ผู้ใช้ทีหน้าที่จ่ายค่าบริการ ตามอัตราที่ผู้ให้บริการกำหนดขึ้น และผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ ดูแล Web Server ให้สามารถให้บริการและจัดสรรทรัพยากรให้กับผู้ใช้ สามารถที่จะใช้งานได้
Web Server and Web Hosting
จากรู้เป็นการอธิบายการทำงานของ Web Server และ Web Hosting ซึ่งจะคอยทำหน้าที่บริการข้อมูล Request และ Responseค่าต่าง ๆ จาก Client โดยที่ Client นั้นจะไม่เจาะจงว่าจะใช้ระบบปฏบัติการอะไร เพียงแค่สามารถสื่อสารกันตามมาตราฐานของ Protocol ที่กำหนดขึ้นเท่านั้น
เครื่อง Computer ที่จะนำมาทำเป็น Web Server มีคุณสมบัติอย่างไร
คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาทำเป็น Web Server นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นถ้าแค่นำไปใช้งานในบริษัททั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้มีผู้ใช้จำนวนมาก และไม่ได้เปิดไว้ตลอดเวลา ก็สามารถที่จะใช้ PC ทั่ว ๆ ไป ทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเป็น Web Serverที่ทำงานตลอด 24 ชม. และรองรับการทำงานในอัตราสูง จะต้องเลือกใช้เครื่อง Computer ที่ไว้สำหรับใช้งานเป็น Server โดยเฉพาะ ซึ่งได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ตลอด 24 ชม. เพราะเครื่องเหล่านี้ได้มีการใช้ Hardware ที่มีคุณภาพสูง ระบบระบายความเย็นที่ดีกว่า PC รวมทั้งคุณสมบัติความแรงก็ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานหนัก ๆ ได้โดยเฉพาะ และเครื่อง Server สามารถทำงานได้เป็นสิบปี (ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) แต่ทั้งนี้การใช้งานจะต้องมีการซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น HDD ควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 ปี และควรจัดทำระบบ Backup ให้เหมาะสม เผื่อป้องกันการศูนย์หายของข้อมูล
ตัวอย่างของเครื่อง Computer ที่จะนำมาเป็น Web Server
เครื่อง Computer Server ที่จะนำมาเป็น Web Server ในปัจจุบันราคาไม่สูงมาก เพราะแค่มีงบประมาณ 2-3 หมื่น ก็สามารถที่จะมี Server เป็นของตัวเองได้แล้ว และเครื่อง Server ที่นิยมใช้จะเป็นแบบ Rack (แท่งสีเหลี่ยมยาว ๆ) เพราะถ้าใช้แบบ Rack ค่าบริการที่จะนำ Server ไปวางไว้ที่ Data Center (อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง) ก็จะถูกลงด้วยเช่นเดียวกัน และอีกประเภทหนึ่งคือแบบ Tower ซึ่งเหมือน PC ทั่ว ๆ ไป และตัวนี้ค่าบริการการวางที่ Data Center ก็จะเแพงเกือบเท่าตัวของ Server แบบ Rack
ในปัจจุบันเทคโนโลยี่เกี่ยวกับ Server ได้พัฒนามาไกลกว่ายุคก่อน ๆ มาก และการที่เราจะ Web Server ของตัวเอง ก็อาจจะไม่ตอ้งทำเป็นที่จะซื้อเครื่องและนำไปวางไว้ที่ Data Center อีก เพราะได้มีเทรโนโลนี่ใหม่ ๆ เกี่ยวกับ VM , VPS , และ Cloud Server และอื่น ๆ ที่สามารให้เรามี Web Server เป็นของตัวเองในราคที่ต่ำมาก และ ไม่ต้องลงทุนในการซื้อเครื่อง Server เลย
เครื่อง Server แบบ Rack
เครื่อง Server แบบ Tower
Software ที่ใช้สำหรับติดตั้งบน Server เพื่อเปลี่ยนให้เป็น Web Server
สำหรับ OS หรือระบบปฏิบัติการที่ใช้งานส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ 2 ตัว คือ Windows Server และ Linux Server โดยที่ทั้งสอง OS จะสามารถใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาษาที่พัฒนา Application เช่นถ้า พัฒนา Application ด้วย ASP,.Net ก็จะใช้ Windows Server (ใช้ IIS เป็น Web Server) แต่ถ้าพวก PHP , Python ,Java (ใช้ Apache เป็น Web Server) ก็จะใช้ Linux กันซะส่วนมาก แต่ในปัจจุบัน ภาษาพวกนี้สามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows Server และ Linux Server ได้เช่นเดียวกัน
IIS (Internet Information Services) สำหรับ Windows Server
Apache สำหรับ Linux Server ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้ร่วมกับภาษา PHP , MySQL Database
นอกจากนี้เทคโนโลยี่เกี่ยวกับ Web Server ยังมีอีกหลายตัวที่ไมได้พูดถึง แต่ก็เป็นส่วนน้อยมากและเฉาะกลุ่มที่จะได้รู้จักและใช้งาน เพาะฉะนั้นในบทความนี้และบทความถัด ๆ ไป จะเน้นเฉพาะการใช้งาน Windows Server (IIS) กับ Linux (Apache) เท่านั้น
ที่มา : http://www.thaicreate.com/web-host/web-host-web-server-web-hosting.html
EmoticonEmoticon