80 Plus อ่านว่า “แปด-สิบ-พลัส” คือมาตรฐานเรื่องประสิทธิภาพในการแปลงไฟจากไฟบ้าน 220 โวตต์ เป็นไฟที่คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์นำไปใช้ ชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแปลงไฟนี้เรียกว่า “คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย” ฉะนั้น 80 Plus ก็คือมาตรฐานการประยัดไฟสำหรับคอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย ตัวเลขประสิทธิภาพยิ่งสูง ความสามารถในการแปลงก็ยิ่งมาก ซึ่งตัวเลขประสิทธิภาพของเพาเวอร์ซัพพลายนี้ใช้หน่วยเป็นเปอร์เซ็นในการวัดเช่น 65%, 70%, 75% ซึ่งเพาเวอร์ซัพพลายปกติจะอยู่ระหว่าง 65%~75% แต่ถ้าเป็นเพาเวอร์ 80 Plus จะอยู่ที่ 80% ขึ้นไป แต่สูงแค่ไหนก็ยังเรียกว่า 80 Plus
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง เพาเวอร์ซัพพลายทั่วไป กับ เพาเวอร์ซัพพลาย 80 Plus
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง เพาเวอร์ซัพพลายทั่วไป กับ เพาเวอร์ซัพพลาย 80 Plus
คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย คือ ชิ้นส่วนที่อยู่ภายในเคส ทำหน้าที่รับไฟบ้านมาแปลงให้ฮาร์ดแวร์
• ที่มาของมาตรฐาน 80 Plus
คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย ทำหน้าที่ดึงไฟจากไฟบ้านมา 100% แต่หลังจากแปลงแล้วจะเหลือแค่ 65%~75% ให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์นำไปใช้งาน (แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน) ส่วนที่เหลือจะสูญเสียไปในรูปแบบพลังงานความร้อน พลังงานส่วนนี้แหละ ที่คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ไม่ได้นำใช้งาน แต่ผู้บริโภคก็ต้องจ่ายค่าไฟตามปกติ ยิ่งสูญเสียมาก ผู้บริโภคยิ่งจ่ายค่าไฟมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายให้มีประสิทธิภาพในการแปลงไฟให้เกิน 80% ขึ้นไป ประเทศอเมริกาจึงกำหนดมาตรฐานนี้ขึ้นมา ให้คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายที่จำหน่ายในประเทศอเมริกาต้องมีประสิทธิภาพการแปลงไฟเกิน 80% หรือเรียกว่า 80 Plus (แปด สิบ พลัส) นั่นเอง
• จุดกำเนิด 80 Plus
80 Plus เป็นมาตรฐานของอเมริกา กำหนดจากหน่วยงาน ชื่อว่า U.S. Energy Information Administration (EIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพลังงาน (DOE) ของอเมริกา Ecos Consulting เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติในเรื่องทดสอบมาตรฐานตัวนี้โดยเฉพาะ 80 Plus ถือว่าเป็นมาตรฐานประหยัดพลังงานของคอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายที่มีความเข้มงวดที่สุดในโลก ทุกวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐาน 80 Plus เรามีแต่ “มอก.” และ “ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5” หลายปีมาแล้วที่เราได้รู้จักกับตราฉลากดังกล่าวที่แปะอยู่ตามอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากมาย อาทิ เครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, โทรทัศน์ ฯลฯ แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีมาตรฐานการประหยัดไฟสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย ทำหน้าที่ดึงไฟจากไฟบ้านมา 100% แต่หลังจากแปลงแล้วจะเหลือแค่ 65%~75% ให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์นำไปใช้งาน (แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน) ส่วนที่เหลือจะสูญเสียไปในรูปแบบพลังงานความร้อน พลังงานส่วนนี้แหละ ที่คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ไม่ได้นำใช้งาน แต่ผู้บริโภคก็ต้องจ่ายค่าไฟตามปกติ ยิ่งสูญเสียมาก ผู้บริโภคยิ่งจ่ายค่าไฟมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายให้มีประสิทธิภาพในการแปลงไฟให้เกิน 80% ขึ้นไป ประเทศอเมริกาจึงกำหนดมาตรฐานนี้ขึ้นมา ให้คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายที่จำหน่ายในประเทศอเมริกาต้องมีประสิทธิภาพการแปลงไฟเกิน 80% หรือเรียกว่า 80 Plus (แปด สิบ พลัส) นั่นเอง
• จุดกำเนิด 80 Plus
80 Plus เป็นมาตรฐานของอเมริกา กำหนดจากหน่วยงาน ชื่อว่า U.S. Energy Information Administration (EIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพลังงาน (DOE) ของอเมริกา Ecos Consulting เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติในเรื่องทดสอบมาตรฐานตัวนี้โดยเฉพาะ 80 Plus ถือว่าเป็นมาตรฐานประหยัดพลังงานของคอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายที่มีความเข้มงวดที่สุดในโลก ทุกวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐาน 80 Plus เรามีแต่ “มอก.” และ “ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5” หลายปีมาแล้วที่เราได้รู้จักกับตราฉลากดังกล่าวที่แปะอยู่ตามอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากมาย อาทิ เครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, โทรทัศน์ ฯลฯ แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีมาตรฐานการประหยัดไฟสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ซึ่งคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นเครื่องใช้อิเล็คทรอนิค ที่ไม่สามารถเอาหลักการประหยัดไฟเบอร์ 5 มาใช้ได้ เนื่องจากภายในคอมพิวเตอร์นั้นประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลายชิ้น ที่มาจากหลากหลายยี่ห้อ นำมาประกอบรวมกันเป็นคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง หากจะมีการนำมาใช้ก็จะต้องแยกเป็นชิ้นส่วนไป หรือ กำหนดมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
การที่จะได้รับรองมาตรฐาน 80 Plus นั้น ผู้ผลิตจะต้องส่งพาวเวอร์ซัพพลายไปให้หน่วยงานที่อเมริการับรองเป็นรุ่นๆ ไม่ได้รับรองแบบเหมาแข่ง หมายความว่า มีรุ่นเดียวของแบรนด์นี้ผ่าน ก็คือเฉพาะรุ่นจริงๆ รุ่นอื่นที่ยังไม่ผ่าน ก็จะต้องส่งไปทดสอบใหม่จนกว่าจะผ่านถึงจะได้รับการรับรอง
• ประโยชน์จากการใช้เพาเวอร์ซัพพลาย 80 Plus
ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการใช้เพาเวอร์ซัพพลาย 80 Plus มี 2 ส่วนด้วยกัน
ส่วนที่ 1 : ผู้บริโภค
ส่วนที่ 2 : หน่วยงานผลิตไฟฟ้า(ที่ประเทศไทยก็คือ การไฟฟ้า)
เมื่อนำทั้งสองส่วนมารวมกันผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือ “ประเทศ”
เอาล่ะ ผมมายกตัวอย่างของประเทศไทยดีกว่า จะได้เข้าใจง่ายๆ เพื่อให้รู้ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยใช้เพาเวอร์ซัพพลาย 80 Plus ทุกตัว ผู้บริโภค, การไฟฟ้า และ ประเทศไทยจะประหยัดได้ปีหนึ่งเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน ผมคงไม่แสดงวิธีการคำนวน แต่จะเอาผลลัพที่ได้จากการคำนวนมาแสดงเป็นภาพให้ชมดังนี้
นี่แค่เครื่องเดียวต่อปีนะ ถ้า 3 ปีเท่าไร?และ 5 ปีเป็นเท่าไร? ถ้าบางคนมองแล้วยังประหยัดไม่พอ ผมให้ดูภาพต่อไปนี้ ทุกคนคงตกใจ
เป็นอย่างไรตัวเลขมากพอหรือยัง ไม่เป็นไร ผมให้ดูว่ารูปดังกล่าว เทียบเท่า Apple The New iPad กี่เครื่องแล้วกัน
เห็นหรือยัง ประเทศไม่ต้องใช้งบเลย เอาเงินที่ประหยัดนี้มาซื้อให้นักเรียนประถมได้เลย คนละเครือง เครื่องนี้ไม่ไช่เครื่องละ 2,000 บาท นี้เครื่องละตั้ง 20,000 บาท
ในมาตรฐาน 80 Plus เองก็มีอีกหลายระดับ เพราะว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพไม่เท่ากัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างใน 80 Plus จึงกำหนดจากสีป้ายดังนี้
แน่นอนยิ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นต้นทุนในการผลิตก็ยิ่งสูงขึ้น แล้วแต่ผู้บริโภคเลือกเอาป้ายสีไหน
ผู้ผลิตเพาเวอร์ซัพพลายจำนวนมากให้ความสนใจ ทำการผลิตเพาเวอร์ซัพพลายเพื่อให้ผ่านมาตรฐานของ 80 Plus มากยิ่งขึ้น และเมื่อผ่านมาตรฐานการทดสอบจะได้รับใบรับรองและตราสัญลักษณ์ 80 Plus สามารถนำไปใช้ติดบนเพาเวอร์ซัพพราย เพื่อการประชาสัมพันธ์ได้ โดยทางองค์กรจะให้การรับรองเฉพาะรุ่นที่ส่งเข้ามาทดสอบและผ่านมาตรฐานแล้วเท่านั้น หากคุณผู้อ่านอยากรู้ว่ามีเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นไหน ยี่ห้ออะไรบ้าง สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ www.80plus.org ได้เลยครับ
ประโยชน์ของการใช้เพาเวอร์ซัพพลายที่ได้รับมาตรฐาน 80 Plus จะมุ่งเน้นไปที่เรื่อง “การประหยัด” เป็นหลัก เพราะเมื่อคุณสามารถประหยัดไฟได้แล้ว แน่นอนว่าคุณก็จ่ายค่าไฟน้อยลง อีกส่วนหนึ่งทำให้การไฟ้ฟ้าลดการสูญเสียในสายส่งไฟฟ้า สุดท้ายเอาสองส่วนนี้รวมกัน ก็คือช่วยประเทศชาติประหยัดงบประมาณได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงแค่หันมาใช้คอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลาย 80+ เท่านั้น.
--------------------
ที่มา - www.hualian.co.th
EmoticonEmoticon