Error Code Canon เกือบทุกรุ่น

Error Code Canon เกือบทุกรุ่น

1.Canon Error Code E02 ( E,0,2 ) มีปัญหาเรื่อง กระดาษอาจหมด หรือใส่กระดาษแน่นเกินไป

2.Canon Error Code E03 (E,0,3) มีปัญหาในส่วนของการฟีดกระดาษหรือกระดาษติด

3.Canon Error Code E04 (E,0,4) ฟ้องในส่วนของตลับหมึก ให้เอาตลับหมึกออกมาทำความสะอาดที่แผงจรและใส่เข้าไปใหม่ ถ้าไม่หายตลับเสีย

4.Canon Error Code E05 (E,0,5)The ฟ้องในส่วนของตลับหมึก นำตลับหมึกออกมาทำความสะอาดลายวงจรและใส่เข้าไปใหม่ ถ้าไม่หายตลับอาจจะเสียต้องซื้อใหม่ หากเป็นตลับที่ต่อแท้งค์ให้เช็คที่การเจาะตลับช่องสีแดงว่าเจาะเยื้องจากตำแหน่งเดิมหรือไม่ เพราะถ้าเจาะที่ตำแหน่งสีจะทำให้มีปัญหาตอนปิดฝาแล้วทำให้แผงวงจรของตัวตลับกับตัวเครื่องไม่สัมผัสกัน

5.Canon Error Code E06 (E,0,6) ถาดช่องกระดาษด้านหน้าเครื่องปิดอยู่ ให้เปิดถาดกระดาษออก

6.Canon Error Code E08 (E,0,8) แผ่นซับหมึกใกล้เต็ม กดปุ่ม Black หรือ Color เพื่อใช้งานต่อ

7.Canon Error Code E12 (E,1,2) ให้ยกเลิกการพิมพ์ปิดเครื่องพิมพ์และเปิดใหม่ลองพิมพ์อีกครั้ง หากไม่สามารถพิมพ์ได้ให้กด กลับสู้ค่าเริ่มต้นที่ไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์

8.Canon Code E13 (E,1,3)ไม่สามารถตรวจสอบระดับหมึกที่เหลือได้ กดปุ่ม stop/Reset ค้างไว้
ประมาณ 10 วินาทีเพื่อ Reset Status ของหมึก

9.Canon Error Code E15(E,1,5)ตลับหมึกไม่สามารถใช้งานได้ ตลับเสีย

10.Canon Error Code E16 (E,1,6)ไม่สามารถตรวจสอบระดับหมึกที่เหลือได้ กดปุ่ม stop/Reset ค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีเพื่อ Reset Status ของหมึก

11.Canon Error Code E17 (E,1,7) ถาดกระดาษด้านหน้าปิดอยู่ ให้เปิดและสั่งพิมพ์อีกครั้ง

13.Canon Error Code E30 (E,3,0) ไม่สามารถตรวจขนาดกระดาษตามที่ผู้ใช้ตั้งค่า ให้ยกเลิกการพิมพ์และลองสั่งใหม่

14.Canon Error Code E31 (E,3,1) เครื่องไม่ได้เซื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบสาย USB และลองสั่งพิมพ์ใหม่

15.Canon Error Code E40 (E,4,0) ไม่สามารถอ่านข้อมูลตลับหมึกได้ นำตลับออกมาตรวจสอบลายวงจรและใส่เข้าไปใหม่

16.Canon Error Code E50 (E,5,0) มีปัญหาที่ตัว Scaner

17.Canon Error Code P02 (P,0,2)
เครื่องพิมพ์ทำงานผิดพลาด ให้ตรวจสอบดังนี้
-ตรวจสอบว่ามีวัสดุแปลกปลอมติดอยู่ในเครื่องหรือไม่
-ตรวจสอบสาย Encoder ว่าสกปรกหรือไม่
-การทำงานของชุดปั๊มว่าทำงานปกติหรือไม่

18.Canon Error Code P03 (P,0,3) หน้าจอคอมพิวเตอร์ Error 6000 อาการนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเกิดจากตัวเช็คระยะและชุดฟีดรวมไปถึงระบบปั๊ม สิ่งที่เราต้องเช็คคือ
1.ชุดดึงกระดาษตรวจสอบว่ามีอะไรเข้าไปติดในช่องนั้นหรือไม่ อาจจะใช้กระดาษ A4 ที่แข็งใส่เข้าไปแล้วดันให้ออกมา และตรวจดูเซ็นเซอร์กระดาษที่อยู่ตรงกลางช่องดึงกระดาษว่าค้างหรือมีอะไรเข้าไปติดหรือไม่
2.กลไกรกระดาษและชุดปั๊ม หากเครื่องใช้งานมานานแล้วหากจะเกิดจากกลไกรของปั๊มกับกระดาษทำงานผิดพลาดหรือไม่ได้จังหวะ ให้ลองถอดออกมาทำความสะอาดคราบน้ำหมึกแล้วใส่เข้าไปใหมส่วนมากจะหาย
3.ตัวเช็คระยะที่เป็นแผ่นฟิล์มใส่ตามแนวที่ชุดหัวพิมพ์วิ่งและอีกตัวก็เป็นแผ่นพลาสติกใส วงกลมด้านข้างเครื่อง
4.เมนบอร์ดทำงานผิดพลาดหรือเสีย จึงทำให้เช็คระยไม่ได้หรือรวนจากการใช้งานมานาน

19.Canon Error Code P10 (P,1,0)
1. ถอดตลับออกจากตัวเครื่อง แล้วปิดเดครื่องพิมพ์
2. ทำความสะอาดที่แผงวงจรของตัวตลับ และทำความสะอาดแผงวงจรที่เครื่องพิมพ์ด้วย
3. เปิดเครื่องพิมพ์ให้เครื่องถามหาตลับ แล้วลองใส่ตลับกลับเข้าไป ดูว่าหายหรือไม่
1. P02 (Carriage error) : ชุดติดตั้งหัวพิมพ์ หรือ กล่องใส่ตลับหมึก เกิดการติดขัดหรือเกิดความผิดพลาด ซึ่งเกิดจาก การแปลงสัญญาณ (จานแปรรหัสหรือแปลงสัญญาณ บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัสก็จะสร้างสัญญาณบอกไปยังเครื่องพิมพิ์) แต่ถ้าไม่สัมผัสก็จะทำให้ชุดติดตั้งหัวพิมพ์มีปัญหาหรือไม่ทำงาน

แก้ไขโดย : 
1. ตรวจดูว่าไม่มีวัสดุแปลกปลอมติดอยู่บริเวณที่หัวพิมพ์ทำงาน
2. ทำความสะอาดสายนำเช็คตำแหน่งหัวพิมพ์ (timing slit film คือ สายสีขาวที่อยู่บริเวณด้านหลังชุดกล่องใส่ตลับหมึกเส้นบาง ๆ อาจจะขาดหรือเลอะหมึก
3. อุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะต้องเปลี่ยนมีดังนี้
- ชุดติตตั้งหัวพิมพ์ หรือ กล่องใส่ตลับหมึก (carriage unit)
- สายเช็คตำแหน่งหัวพิมพ์ (timing slit film)สายสีขาวที่อยู่บริเวณด้านหลังชุดกล่องใส่ตลับหมึกเส้นบาง ๆ
- แผงวงจร (logic board)


2. P03 (Line feed error) : ความผิดพลาดในการส่งสัญญาณการป้อนบรรทัด line feed (LF) เป็นสัญญาณบอกให้เครื่องพิมพ์เลื่อนลงไปอีกบรรทัดหนึ่ง หรือ ขึ้นบรรทัดใหม่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงจุดสิ้นสุดของบรรทัด
แก้ไขโดย : อุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะต้องเปลี่ยนมีดังนี้
- สายเช็คตำแหน่งหัวพิมพ์ (timing slit disk film) อยู่ด้านข้างของตัวเครื่อง
- แผงวงจร logic board


3. P05 (ASF cam sensor error) : sensor การป้อนกระดาษผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการป้อนกระดาษจากถาดกระดาษข้างท้าย คือ กระดาษไม่ได้รับการป้อนเมื่อมีการสั่งพิมพ์งาน
แก้ไขโดย : เปลี่ยนอุปกรณ์การใช้งาน ดังนี้
- ASF/PE sensor unit
- Drive unit
- แผงวงจร logic board


4. P06 (Internal temperature error) : ความร้อนภายในเครื่องพิมพ์ผิดปกติ
แก้ไขโดย : เปลี่ยนแผงวงจรใหม่


5. P07 (Ink absorber full) : ตัวซับน้ำหมึก (ฟองน้ำ) เต็ม
แก้ไขโดย : เปลี่ยนฟองน้ำใหม่ ทำการ Clear counter


6. P08 (Print head temperature rise error) : หัวพิมพ์ร้อนมีอุณหภูมิสูงเกินกว่าค่าที่กำหนด
แก้ไขโดย : เปลี่ยนตลับหัวพิมพ์ใหม่และ/หรือเปลี่ยน logic board ใหม่


7. P09 (EEPROM error) : หน่วยความจำในเครื่องเกิดข้อผิดพลาด EEPROM ย่อมาจาก electronically erasable programmable read only memory ( แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมและลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้า) เป็นชิป (chip) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามชื่อ ใช้เป็นหน่วยความจำ หากต้องการแก้ไข จะต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าลบ แล้วบันทึกของใหม่ลงไป หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า
แก้ไขโดย : เปลี่ยน logic board ใหม่


8. P10 (VH monitor error) : ค่าศักย์ไฟฟ้าของหัวพิมพ์ผิดปกติ ชุด Step motor ทำงานผิดพลาดหรือมอเตอร์เสีย
แก้ไขโดย : เปลี่ยนตลับพิมพ์ใหม่ หรือเปลี่ยน แผงวงจรใหม่


9. P15 (USB VBUS over current) : กระแสไฟมากเกินไป ลองถอดสาย USB ออกแล้วเสียบใหม่ถ้าไม่หายให้ลองเปลี่ยนสาย USB ใหม่ ถ้ายังขึ้นเหมือนเดิมแสดงว่าเมนบอร์ดเสีย
แก้ไขโดย : เปลี่ยน logic board ใหม่


10. P20 (Other hardware error) : ความผิดพลาดของ hardware อื่นๆ
แก้ไขโดย : เปลี่ยน logic board ใหม่


11. P22 (Scanner error) : สแกนเนอร์ทำงานผิดพลาด
แก้ไขโดย : เปลี่ยน scanner unit ใหม่หรือเปลี่ยน logic board ใหม่


12. E04 : ตลับหมึกหมด แก้ไขโดย กดปุ่ม Stop/Reset ค้างจนหน้าจอเป็นเลข 1


13. E16 : เครื่องไม่ทราบปริมาณน้ำหมึกเครื่องไม่ทำงาน แก้ไขโดย กดปุ่ม Stop/Reset ค้างจนหน้าจอเป็นเลข 1



หรือจะดูเป็นไฟล์ PDF ก็มีนะครับ

http://dnprg15.dnp.go.th/filesAttach/large/1408006120.pdf
Previous
Next Post »

1 ความคิดเห็น:

Write ความคิดเห็น
ไม่ระบุชื่อ
AUTHOR
16 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 20:32 delete

DDDD

Reply
avatar