การเลือกซื้อ Motherboard (เมนบอร์ด)

คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ Intel® Core i7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA Geforce295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง เกริ่นมาซะเยอะแล้ว วันนี้ผมจะใคร่ขออาสานำความรู้ดีๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนบอร์ดคุณภาพครับ ตามมาเลยครับ .....
?
Main Board หรือ Motherboard คือ แผงวงจรหลักทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ
?
เมนบอร์ดในปัจจุบันที่เราพบเห็นในตลาดมีสองค่ายเท่านั้นเองครับ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามีแค่สองบริษัทที่ขายเมนบอร์ดไม่ใช่แบบนั้นครับ แต่หมายความว่ามีเมนบอร์ดที่ซัพพอร์ตซีพียูระหว่าง Intel® และ AMD เท่านั้นน่ะครับ แต่ผู้ผลิตเมนบอร์ดมีอยู่มากมายหลายบริษัทให้เราเลือกใช้ โดยแต่ละบริษัทก็มีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวสินค้าที่ออกมาว่าจะโดนใจใครหลายคนหรือเปล่า แต่อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นครับว่า ปัจจุบันการต่อสู้ทางการตลาดของสินค้าประเภทเมนบอร์ดไม่ได้วัดกันที่เฉพาะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนเมนบอร์ด หรือ แค่สเปกของเมนบอร์ดเท่านั้น แต่ยังต้องรวมถึงซอฟท์แวร์ยูทิลิตี้ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดด้วย ว่าสามารถทำประโยชน์ และเพิ่มความสามารถในการใช้งานเมนบอร์ดในด้านใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู, เพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพิ่มเติม คราวนี้ผมจะแยกส่วนสาระสำคัญของฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่าน เพื่อที่จะตัดสินใจในการครอบครองเมนบอร์ดได้อย่างถูกต้อง และได้ใช้ประโยชน์สูงสุดครับ
?
คุณสมบัติเด่นของตัวเมนบอร์ด (Key Feature)
อย่างแรกเลยในการเลือกซื้อเมนบอร์ดเราก็ต้องรู้จักเมนบอร์ดก่อนว่าทำมาจากวัสดุอะไร เราคงเคยได้ยินกันคุ้นหูว่า PCB เป็นพลาสติกลายปริ้นทองแดงที่นำมาเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ลงไป เช่น ชุดจ่ายกระแสไฟฟ้า (Power Phase), ชุดประจุไฟฟ้า (Capacitor) และรวมถึงชุดต้านทานไฟฟ้าต่างๆ ด้วย ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายที่อยู่บนเมนบอร์ดล้วนมีผลโดยตรงต่อการดึงศักยภาพของฮาร์ดแวร์ตัวอื่นขึ้นมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะเครื่องพีซีของเรามีพื้นฐานในการส่งสัญญาณเป็นไฟฟ้าองค์ประกอบ ฮาร์ดแวร์เหล่านี้จึงต้องมีคุณภาพที่สูงเช่นกัน เราลองมาสังเกตวิธีการเลือกเมนบอร์ดกันเลยครับ อย่างแรกลองดูเรื่องของทองแดงที่นำมาใช้เป็นสื่อไฟฟ้าว่ามีขนาดเหมาะสมไหม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะใช้ขนาด 1ออนซ์เป็นมาตรฐาน แต่มีผู้ผลิตเมนบอร์ดบางรายใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นเป็น 2 ออนซ์ ซึ่งส่งผลดีในแง่ของการระบายความร้อน และ สัญญาณไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงด้วย ต่อมาในส่วนของตัวชุดจ่ายกระแสไฟฟ้าก็ต้องสังเกตว่าผู้ผลิตออกแบบมาด้วยจำนวนเฟรสกี่ตัว ยิ่งมากก็ยิ่งส่งผลดีในแง่ของความเสถียรในการจ่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความร้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะการมีเฟรสหลายๆ ตัวทำให้เฟรสแต่ละตัวมีภาระในการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่ำ ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมเมื่อทำงานแบบต่อเนื่อง อีกตัวที่สำคัญเช่นกันและมักจะเสียหายก่อนใครเพื่อนเลยก็คือตัว capacitor หรือ ชุดประจุไฟฟ้าหน้าตาเหมือน ถังเก็บน้ำ ซึ่งตัวหุ้มของอุปกรณ์ดังกล่าวมักจะทำจากสังกะสีทำให้เมื่อสัมผัสกับอากาศที่มีความชื้นมักจะเกิดคราบสนิท และ ปริแตก ส่งผลให้เมนบอร์ดชำรุดเสียหาย แต่ปัจจุบันผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้เปลี่ยนมาใช้เป็น Solid Capacitor บนเมนบอร์ดทั้งหมดเหมือนกันเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งแรกที่เราต้องศึกษาเมนบอร์ดให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจเลือกความสำคัญของชิ้นส่วนอื่น ที่จะมาเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด
?
ชนิดของซีพียู (CPU Socket)

อย่างที่เล่าให้ฟังว่าปัจจุบันมีแค่สองค่ายยักษ์ใหญ่ที่ผลิตซีพียูนะครับ โดยแต่ละซีพียูที่ผลิตออกมาก็มีซ็อคเก็ตชนิดแตกต่างกันไป เราจึงจำเป็นต้องรู้ไว้บ้างเหมือนกันว่า แต่ละค่ายในปัจจุบันมีซ็อคเก็ตแบบไหนบ้าง ผมขอเริ่มจากค่าย Intel® ก่อนแล้วกันครับ ปัจจุบันก็จะมีซ็อคเก็บแบบ LGA775 (Core2 Quad, Core2 Duo, Pentium และ Celeron Processor), LGA1366 จะใช้กับซีพียูกลุ่ม Core i7 920, 940 และ 965 ครับ และ ซ็อคเก็ตใหม่ที่ค่ายอินเทลเพิ่งเปิดตัวไปนั่นก็คือ LGA1156 สำหรับ Core i5 750 และ Core i7 860 และ 870 มาทางด้านค่าย AMD ก็จะมีอยู่หลายซ็อคเหมือนกัน จะมี AM3, AM2+, AM2 ใช้กับซีพียูตระกูล Phenom II, Phenom, Athlon II and Athlon processor ครับ ซึ่งเราจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องของฟีเจอร์ซีพียูในแต่ละตระกูลว่าโดดเด่นกันในด้านใด แต่ผมไม่ได้พูดถึงในบทความนี้นะครับ
?
ช่องเสียบหน่วยความจำ (Memory Slot)
Random Access Memory หรือที่เราหลายคนเรียกกันว่า RAM ครับ RAM คือหน่วยความจำสำรองที่ทำหน้าเก็บชุดคำสั่ง หรือ ข้อมูลที่จะถูกนำไปประมวลผลกับซีพียูนะครับ อันนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผลของพีซีเช่นกัน โดยวิธีปัจจุบันที่มีรองรับบนเดสก์ท็อปเมนบอร์ดจะมีสองชนิดด้วยกันคือ ชนิด DDR 2 และ DDR 3 ซึ่งจะมีความเร็วที่แตกต่างกันโดย DDR 3 จะมีความเร็วของ FSB เริ่มต้นที่ 1066MHz จนถึง 1600MHz โดยในผู้ใช้นิยมทำการโอเวอร์คล็อกให้มีความเร็วสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิมของแรม โดยต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการรองรับการโอเวอร์คล็อกของเมนบอร์ดด้วย โดยที่ DDR 3 มีความเร็วที่สูงกว่า และ ยังกินพลังงานต่ำกว่า DDR 2ด้วย ส่วนแรมชนิด DDR 2 มีความเร็ว FSB เริ่มต้นตั้งแต่ 533MHz จนถึง 800MHz โดยแต่ละเมนบอร์ดก็จะรองรับการทำงานได้โดยแรมชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานแรมสองชนิดพร้อมกันได้
?
ชิปเซต (Chipset)
เป็นศูนย์กลางของเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านไปยังฮาร์ดแวร์ส่วนตัวต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกับเมนบอร์ด ซึ่งการเลือกซื้อ เลือกใช้ต้องอ้างอิงจากตัวซีพียูเป็นหลัก โดยปกติแล้วผู้ผลิตซีพียูอย่างเช่น Intel® ก็เป็นผู้ผลิตชิปเซ็ต Intel® ไม่ว่าจะเป็น X58, P55, P45, G45, G31Chipset และ อื่นๆ อีกมากมายด้วยเช่นกัน ส่วนฝั่ง AMD หลังจากได้รวมกิจการกับ ATI ก็ใช้ชิปเซ็ตหลักเป็น ATI ไม่ว่าจะเป็น 790X, 785 และ 770 Chipset และผู้ผลิตก็จะมีการกำหนดมาตรฐานการใช้งานระหว่างซีพียู กับชิปเซ็ตไว้อยู่แล้ว รวมถึงมีบทความ หรือ ข้อมูลแนะนำในการจับคู่กันอยู่แล้วครับ
?
กราฟฟิคสล็อต (VGA slot)
อันนี้เป็นเรื่องของกราฟฟิคที่ผมได้เกริ่นไว้ตอนต้นเหมือนกันครับ ว่าเป็นฮาร์ดแวร์หลักที่คนส่วนใหญ่นึกถึงต้นๆ ในส่วนของเมนบอร์ดเองก็จะมีตัว interface หรือ connector รองรับอยู่ด้วยกันสองแบบหลักๆ ครับ อย่างแรกก็คือ แบบกราฟฟิคบิวท์อินบนบอร์ดมาอยู่แล้ว และ เมนบอร์ดยังมีพร้อม interface แบบ AGP หรือ PCI-Express มาให้ด้วย โดยเทคโนโลยีปัจจุบันยังสามารถทำให้กราฟฟิคชิปที่เป็นแบบบิวท์อิน และแบบการ์ดทำงานร่วมกันได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแสดงผลภาพ และอีกแบบที่ผมจะพูดต่อมาก็คือแบบที่มี interface หรือ connector แบบ PCI-Express ที่มีให้มากกว่าหนึ่งสล็อต เพื่อที่จะรองรับการทำงานแบบ Multi-VGA สามารถต่อเชื่อม หรือ รวมกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผลภาพขั้นสูง โดยปัจจุบันมีสองค่ายที่มีนำเสนอออกมา ได้แก่ ATI CrossFire™ X Technology และ NVIDIA SLI Bridge เหมาะสำหรับนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือ คนที่ทำงานด้านกราฟฟิคเรนเดอร์ที่ต้องการความสามารถดังกล่าว
?
ระบบเสียง (Sound Onboard)
ความสามารถในเชิงสัญญาณเสียงมักถูกละเลยไป แต่ทั้งนี้ที่เราไม่ควรมองข้ามเพราะปัจจุบันผู้ผลิตสื่อต่างๆ มีเทคโนโลยีไปไกลมากแล้ว สามารถผลิตสื่อมัลติมีเดียที่มีความสามารถในการแสดงผลในส่วนของเสียงที่ดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกภาพยนตร์แบบระบบเสียง Dolby Surround 8.1 สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 8 ช่องทาง ซึ่งสื่อเหล่านี้จะไม่มีประโยชน์เลยหากระบบเสียงบนเมนบอร์ดของเราไม่ได้รองรับความสามารถดังกล่าว รวมทั้งเมนบอร์ดบางรุ่นบางผู้ผลิตยังมาพร้อมช่องสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF แบบ Optical และ Coaxial เพื่อเติมเต็มคุณภาพของสัญญาณเสียงแบบสมจริง และใกล้เคียงคุณภาพของชุดเครื่องเสียงจริงๆ ฉะนั้นระบบเสียงที่บิวท์อินมากับตัวเมนบอร์ดจึงเป็นปัจจัยหนึงที่สำคัญเช่นกันในการเลือกซื้อเมนบอร์ด
?
ระบบเครือข่าย (LAN)
เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยเหมือนกันเพราะโลกในปัจจุบันเป็นยุคที่ไร้พรมแดนซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายผ่าน Ethernet หรือ เราเรียกกันภาษาบ้านๆ ว่า ระบบ LAN ซึ่งมีความเร็วตั้งแต่ 10Mbps จนถึง 1000Mbps หรือ 1Gbps ซึ่งถ้าดูจากเมนบอร์ดที่มีขายในปัจจุบันจริงๆ มีผู้ผลิตบางรายใช้เป็น 1Gbps ทั้งหมดแล้วเหมือนกัน แต่สามารถรองรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์พวกสวิทช์ที่เป็น 10/100Mbps ได้ไม่มีปัญหา เมื่อก่อนผู้ใช้ตามบ้านอาจจะมองว่าแลนไม่ได้ใช้งานแต่อย่างใดเมื่อใช้ที่บ้าน� แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง ADSL โตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และ เทคโนโลยีดังกล่าวต้องทำงานร่วมกับแลน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องใช้พิจารณาในการเลือกซื้อเมนบอร์ดเช่นกัน
?
ไอโอ (I/O Connector)
ไอโอ คอนเน็ตเตอร์ คือ In Put/Out Put Connector หรือ ช่องที่ใช้เชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์หลายประเภท อย่างเช่น USB Port ที่ใช้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์หลายชนิดเช่น Key Board, Mouse, Flash Drive, Bluetooth, Printer, Modem, Wireless USB เป็นต้น หรือจะเป็น PS2 ที่เมื่อก่อนเราใช้ติดต่อกับคีย์บอร์ด และ เมาส์ หรือ SATA และ P-ATA ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดไดรฟ์ และ ออปติเคิลไดรฟ์ อย่างซีดีรอม ซึ่งไอโอพอร์ตเหล่านี้ติดตั้งมาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดทุกรุ่นทุกค่ายอยู่แล้ว เพียงแต่บริษัทผู้ผลิตใดสามารถออกแบบให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากกว่ากัน และ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในการทำงาน รวมถึงทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพด้วย
?
เทคโนโลยี RAID (Redundant Array of Independent Disks)
คำว่า RAID หรือ Redundant Array of Independent Disks หรือการนำเอาฮาร์ดดิสก์หลายๆ ตัวมาเชื่อมต่อกันผ่านชุดคอนโทรลเลอร์ (Controller) เพื่อเพิ่มความจุ, ความเร็วในการอ่าน และเขียนข้อมูล และ ความปลอดภัยของข้อมูลจากการสูญหาย โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยี RAID มีให้เห็นตั้งแต่ RAID 0, 1, 5, 6 และ 10 กันเลยทีเดียว ซึ่งผู้ใช้บางรายที่ต้องการประสิทธิภาพในส่วนของการเรียกใช้ข้อมูลจากตัวฮาร์ดไดรฟ์ดังกล่าวก็สามารถเลือกซื้อเมนบอร์ดที่มี RAID Technology ได้เช่นกัน
?
เทคโนโลยี BIOS (Basic input output System)
BIOS ถือเป็นสมองหลักของตัวเมนบอร์ดเลยทีเดียว เพราะเป็นที่เก็บข้อมูล และ คำสั่งความสามารถของตัวไบออสดังกล่าว รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนค่าการทำงานต่างๆ ที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลายของแต่ละผู้ใช้ด้วย โดยถ้าไบออสดังกล่าวถูกโจมตีด้วยไวรัส หรือ ซอฟท์แวร์บางประเภทก็อาจทำให้เครื่องพีซีที่เราใช้อยู่นั้นไม่สามารถบูตเครื่องได้เลย ผู้ผลิตเมนบอร์ดบางเลยจึงหาวิธีป้องกันภัยคุกคามจากสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการใช้ไบออสสองตัวเพื่อป้องกันหากไบออสตัวหลักเสียหายไม่สามารถทำงานได้ ตัวที่สองสามารถทำงานแทนได้ หรือบางผู้ผลิตก็ใช้ซอฟท์แวร์ในการจัดการกู้คืนค่าให้กับไบออสเหมือนกัน
?
ซอฟท์แวร์อรรถประโยชน์ (Utilities Software)
นอกจากเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีเรื่องของซอฟท์แวร์อรรถประโยชน์ดังกล่าวเข้ามาเกี่ยวข้องในการเลือกซื้อเมนบอร์ดด้วย เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีของฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ สูงขึ้นมากไม่ว่าจะเป็นตัวซีพียูที่สามารถอัพสปีดสูงเกินค่ามาตรฐานได้ รวมถึงแรม และ กราฟฟิคการ์ดด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเมนบอร์ดเองก็ต้องตระเตรียมซอฟท์แวร์ที่มาช่วยจัดการเพิ่มความสามารถ หรือ ดึงขีดความสามารถสูงสุดของฮาร์ดแวร์ดังกล่าว นอกจากนั้นยังต้องมีซอฟท์แวร์ในส่วนการจัดการด้านความปลอดภัยในการเข้าใช้ข้อมูล รวมถึงอาจจะมีการเก็บบันทึกการเปิด และ ปิดเครื่องพีซีด้วยเช่นกัน อีกทั้งเราอาจจะต้องเลือกเมนบอร์ดที่มีความสามารถในการประหยัดพลังงานด้วยเหมือนกัน เพราะเทรนปัจจุบันทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อลดปัญหาโลกร้อน เรื่องนี้จึงเป็นเทรนให้กับสินค้าทุกชนิดที่ผลิตขึ้นมาใช้งาน
?
การรับประกัน (Warranty)
ส่วนใหญ่ผู้ผลิตแทบทุกรายจะรับประกันเมนบอร์ดให้ 3 ปี แต่นอกจากเรื่องของระยะเวลาในการรับประกันแล้ว เราอควรต้องเลือกซื้อกับผู้ขายที่มีประวัติดีและต้องดูว่าผู้ขายเองซื้อสินค้าจากผู้แทนจำหน่ายรายใด ปัจจุบันมีไม่เยอะมาก เนื่องด้วยผู้แทนจำหน่ายสินค้าประเภทไอทีในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ทำสินค้าหลากหลายอยู่แล้ว จึงต้องพิจารณาจากประวัติชื่อเสียงจากหลายๆ ทาง และ รวมถึงพิจารณาจากจำนวนศูนย์บริการที่มีให้บริการในทุกพื้นที่ และ ทุกจังหวัดด้วย


ที่มา - pantipplaza.com

Previous
Next Post »